ชื่อ                        เด็กชายเสกสรรค์ คงเรือง                                                          

ระดับ                     ประถมศึกษาตอนปลาย                                                

สถานศึกษา            โรงเรียนบ้านดงกลาง                                                    

ชื่อผลงาน               นั่งช้างชมบ้านชมเมือง                                                  

ชื่อวรรณกรรม          ประพาสราชสถาน                                                       

รหัสภาพ                 09-007                                                         

วิธีทำ                                                                            

ราคา                     5,000           บาท      Price     140 USD.                     

บทวรรณกรรม                                                               

วันพุธที่ 4 เมษายน 2544 ตื่นตั้งแต่ตี 5 ไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุกเพราะว่าพราหมณ์ตีกังสดานเคาะระฆัง สวดมนต์ลงไป รับประทานอาหารตอน 7 โมงเช้า เวลา 08.30 น. ออกรถ หยุดกลางทางที่ HAWA MAHALL พระราชวังวายุ ที่จริง เป็นระเบียงฝาฝนังซ้อนกัน 5 ชั้น มีช่องหน้าต่างให้นางในได้ดูบ้านเมืองและตลาด ธรรมเนียมเมืองนี้ บ้านเรือน ปราสาท พระราชวัง ไม่หันออกถนนใหญ่ มีแต่สุเหร่าและวัด ที่หันออกถนนได้ ช่องหน้าต่างมี 953 ช่อง ไปถึง Amber fort หยุดรถ ขึ้นช้าง ที่จริงข้าพเจ้าเสียวไส้เหมือนกัน นั่งกับตำรวจหญิงอินเดีย นั่งกูบแคบโบราณที่เห็นในพิพิธภัณท์ คนอื่นเขานั่ง กันหลายคน ทูต ทหารเรือกับเลนเดิน นึกแต่ว่าถ้าหล่นลงไป สองคนนี้ คงจะซวย สองข้างทางขึ้นมีร้านขายของ มีคนเดินสีซอ tintala พอผ่านประตู ลองชูสุดแขน ก็ไม่ถึงช่องตี เขาบอกมีสำหรับคนขี่ช้างเปิด ถามคุณสหายว่า "ทำไมยังจับไม่ถึง" เขาบอก ว่า "ช้างสมัยก่อนตัวโตกว่านี้" ช้างที่เดินทางระหว่าง Amber - Jaipur กำหนดให้มีได้แค่ 99 เชือกถ้ามีมากว่านี้จะต้อง ให้คนอื่นหรือขายไป เมือง Amber อยู่ห่างชัยปูรประมาณ 11 กิโลเมตร ชื่อเมืองมาจาก Amba (mata) หมายถึง Mother Earth ชนเผ่ามีนา  (Minas หรือ meenas) นับถืออยู่ก่อน พวก Kacchwaha Rajput อพยพมาจาก Gwalior ในมัธประเทศเมือง มาตีดินแดนแถบนี้  พวกที่ครองชัยปูร ทุกวันนี้ สืบตระกูลมาทางพระราชบุตรเขย เป็นราชบุตรอีกกลุ่มที่มาแต่งงานเจ้าหญิง Kacchwaha จึงได้ครองดินแดนด้วย สร้าง Fort ตรงนี้ ใช้เป็นเมืองหลวงจนถึง ค.ศ.1727 จึงย้ายไปชัยปูร  Amber เป็นเมืองหลวงของ Kacchwaha อย่างเด็ดขาด ราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 Mansingh สร้าง Fort และพระราชวังสำหรับพักระหว่างสงคราม                                                                                  

ข้อคิดที่ได้                                                                     

ข้อความที่ได้จากวรรณกรรม มีดังนี้                                                                                                                                           1.ความไม่ประมาทในการขึ้นช้าง เที่ยวชมบ้านชมเมือง                                                                                                             2.ความแตกต่างทางวัฒนธรรม เราสามารถชื่นชมยินดีกับวัฒนะธรรมชาวอินเดีย และปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้น ให้ถูกกาลเทศะ                                                                                                                                          

เหตุผลที่เลือกวรรณกรรม                                                             

เป็นพระราชนิพนธ์ใรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชอบตอนวันพุธที่ 4 เมษายน 2544 เพราะต้องนั่งช้าง ชมบ้าน ชมเมือง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระองค์ทรงรู้สึกเสียวไส้เหมือนกันเวลานั่งบนกูบที่หลังช้างแบบอย่างสมัยโบราณ รู้สึกชื่นชมโบราณสถานที่เป็นป้อมแอมเบอร์ และประทับใจพระราชวังวายุ ที่มีช่องหน้าต่างถึง 953 ช่อง น่าอัศจรรย์ จริงๆ