ชื่อ                   ศรชัย พงษ์ษา

ระดับ               อุดมศึกษา

สถานศึกษา        มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชื่อผลงาน          ปพฺพชิต 

ชื่อวรรณกรรม    พุทธประวัติ 

 

บทวรรณกรรม

              ในวันที่เจ้าชายราหุเกิดนั้น  เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา  ด้วยทางเบื่อในเพศฆราวาสอันเต็มไปด้วยกิเลส  จึงทรงเห็นว่าเพศบรรพชาเท่านั้นที่ประเสริฐและเป็นเพศที่สามารถจะหลุดพ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวงได้  กระทั่งคืนที่เจ้าชายตัดสินพระทัยจะออกผนวช  ได้เสด็จไปเยี่ยมพระโอรสและมเหสี  เมื่อพระองค์เห็นพระนางพิมพาบรรทมหลับสนิทพระกรกอดโอรสอยู่ ทรงดำริจะอุ้มโอรส  ขึ้นชมเชยเป็นครั้งสุดท้าย  ก็เกรงว่าพระนางพิมพาจะตื่นบรรทม  เป็นอุปสรรคขัดขวางการเสด็จออกบรรพชา  จึงตัดพระทัยระงับความเสน่หาในพระโอรสเสด็จออกจากห้อง  เสด็จออกจากปราสาทพบกับนายฉันนะ  สารถี  ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง (ม้านามว่ากัณฑกะ) ไว้แล้วเสด็จออกจากพระนครในราตรีกาล  เสด็จออกพ้นพระราชวัง  เข้าเขตแดนแคว้นโกศลและแคว้นวัชชี  ครั้นเวลาใกล้รุ่ง  เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที  พระองค์ทรงม้าข้ามฝั่งแม่น้ำ  แล้วเสด็จลงไปประทับนั่งบนกองทราย  ทรงตัดพระเมาลี  ด้วยพระขรรค์  เปลี่ยนชุดทรงกษัตริย์เป็นผ้ากาสาวพัตร์  แล้วทรงตั้งจิตอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต  ณ  ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา  ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8  จากนั้นทรงส่งนายฉันนะนำเครื่องทรงกษัตริย์กลับนคร  แล้วเสด็จลำพังโดยพระองค์เดียว  มุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ

             เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นต้น  คือ  พระไตรปิฎก  กล่าวว่า  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะอายุได้  29  พรรษา  ทรงพระดำริว่า

             “…มนุษย์ทั้งหลายมีความทุกข์เกิดขึ้นครอบงำอยู่ตลอดเวลาก็จริง  เกลียดความทุกข์อยู่ตลอดเวลาก็จริง แต่ทำไมมนุษย์ทั้งหลายยังมัวแสวงหาทุกข์ร้อนใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา  แล้วทำไม  เราต้องมามัวนั่งแสวงหาทุกข์ใส่ตัว  อยู่อีกเล่า!”          

              ด้วยความคิดเช่นนี้  ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะถึงกับตั้งพระทัยออกผนวชด้วยดำริว่า “…เมื่อรู้ว่าการเกิดมี (ทุกข์) เป็นโทษแล้ว  เราพึงแสวงหา  “นิพพาน”  อันไม่มีความเกิด  อันเป็นธรรมที่เกษมจากเครื่องร้อยรัด  ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเถิด…”         

 

ข้อคิดที่ได้

               “ความสุขที่แท้จริงคือการไม่ยึดติด”