ชื่อ                    วรพจน์ ทองคำสุข

ระดับ                ประถมศึกษา

สถานศึกษา        โรงเรียนบวรรัตนศาสตร์

ชื่อผลงาน          พระเวสสันดร ตอน กัณฑ์กุมาร   

ชื่อวรรณกรรม    พระเวสสันดรชาดก

 

บทวรรณกรรม

                เมื่อชูชกเดินทางตามที่ฤาษีแนะนำ เวลาเย็นก็ถึงเขาวงกตใกล้อาศรมของ พระเวสสันดร แกก็ดีใจมาก ตรึกตรองหาโอกาส จะเข้าพบพระเวสสันดร เห็นว่าเวลานี้พระนางมัทรีกลับจากป่า หากไปขอจักไม่สำเร็จ ควรไปเวลาเช้า เมื่อพระนางเข้าป่าแล้วครั้นขอสองกุมารได้แล้วก็จะรีบกลับก่อนพระนางจะกลับมา

ครั้งนั้นพระนางมัทรีฝันร้าย ดังนั้นครั้นรุ่งเช้าเวลาจะเข้าป่าก็เป็นห่วงโอรสทั้งสองกุมาร จึงได้พาลูกทั้งสองพระองค์มาฝากพระเวสสันดรให้ทรงช่วยดูแล ทั้งกำชับพระโอรสไว้แข็งแรง ไม่ให้ออกนอกบริเวณพระอาศรม แล้วจึงได้เข้าป่าหาผลไม้อันเป็นกิจวัตรที่ทรงทำอยู่เป็นประจำวัน

ฝ่ายชูชกเห็นว่าพระนางมัทรีเข้าป่าแล้ว จึงได้เดินทางไปเฝ้าพระเวสสันดร ทูลขอสองกุมาร พระเวสสันดรก็ประทานให้ แต่ตรัสว่าขอให้รอพระนางมัทรีก่อน ให้ชูชกค้างสัก 1 ราตรี แต่ชูชกไม่เห็นด้วยทูลว่า รอพระนางมัทรีก่อน ให้ชูชกเป็นเหตุขัดข้อง เวสสันดรรับสั่งว่า เมื่อเอาสองกุมารไป จงเอาไปถวายพระเจ้าสัญชัยราช ณ กรุงพระนครสีพี จะได้รับพระราชทานรางวัลมาก ชูชกค้านว่า ถ้าไปพบพระเจ้าสันชัยราช อาจถูกจับได้ว่า ไปลักพระเจ้าหลานมา กับเป็นโทษ องการจะเอาไปใช้เป็นทาสเอง ขณะที่ชูชกทูลขอ สองกุมารอยู่นั้น กัญหา ชาลี สองกุมารได้ยินกลัวจะถูกชูชกเอาตัวไป จึงพากันไปซ่อนอยู่ในสระบัว เอาใบบัวบังศีรษะไว้เสีย เมื่อชูชกไม่เห็นสองกุมาร ก็ทูลตรัสพ้อพระเวสสันดรจนท้าวเธอต้องเสด็จไปตาม ครั้งทรงทราบว่าไปซ่อนอยู่ในสระ ก็ตรัสเรียกขึ้นมา แล้วตรัสปลอบโยนให้หายกลัว และเศร้าโศก พร้อมกับคาดราคาโดยสั่งให้ชาลีกุมารไว้ว่า ถ้าจะไถ่ให้พ้นจากทาส สำหรับชาลีกุมาร ต้องไถ่ด้วยทองหนัก แท่งหนึ่งห้าพันตำลึง ส่วนกัญหา นั้นต้องไถ่ด้วยทาสชายหญิง ช้าง ม้า โค รถ อย่างละร้อยกับทองแท่ง หนัก ห้าพันตำลึงแล้วทรงพามามอบให้ชูชก

ครั้นชูชกได้สองกุมารแล้ว ก็เอาเถาวัลย์ผูกข้อมือสองกุมารไป เมื่ออิดเอื้อน ร้องไห้ไม่ด่วนไปตามประสงค์ของแก แกก็ตีด่าตามประสาคนสันดานทราม ถึงกับดาลใจแก่พระเวสสันดร ให้พุ่งด้วยโทสะเกิดโทมนัส น้อยพระทัย คิดจะประหารชูชก เอาพระโอรสคืนเสียแต่ก็กลับหักพระทัยด้วยขันติ ได้แต่ปล่อยให้ชูชกพาสองกุมารไปตามปรารถนา

 

ข้อคิดที่ได้

                1. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะไม่ผลีผลามเข้าไป รอจนพระมัทรีเข้าป่า จึงเข้าไปขอสองกุมารจะประสบผลสำเร็จ ดังภาษิตโบราณว่า ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม

                2. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกัน แต่เป็นห่วง ไม่เท่ากัน ห่วงหญิงมากกว่าชาย เพราะพระท่านเปรียบเอาไว้ว่า ลูกหญิงเหมือนข้าวสาร ลูกชายเหมือนข้าวเปลือก หญิงยิ่งโตเป็นสาว ยิ่งสวยก็ยิ่งยุ่ง

                3. สติ เต นิวาระนัง สติเป็นเครื่องป้องกันอันตรายทั้งปวงได้ ขันติ สาหะสาวาระณัง ขันติ ป้องกันความหุนหันพลันแล่นได้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรไม่ประหารด้วยพระขรรค์เมื่อถูกชูชกประณามและเฆี่ยนตี กัญหาชาลี ต่อพระพักตร์