ชื่อ                         ด.ญ.ณัฐพัชร์  พิทยเสถียร          

ระดับ                      ประถมศึกษาตอนปลาย

สถานศึกษา             ชมรมศิลปะกลุ่มกระท่อมศรัทธา

ชื่อผลงาน               รักเจ้านายยอมถวายชีวิต

ชื่อวรรณกรรม         พันท้ายนรสิงห์ ดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์                                 แห่งคลองโคกขาม

 

 

บทวรรณกรรม

 

          “คลองโคกขาม” .สมุทรสาคร ปัจจุบันสองฝั่งคลองยังเต็มไปด้วยต้นโกงกาง มีธรรมชาติอันร่มรื่น สวยงามและสงบ ซึ่งในอดีต ณ สถานที่แห่งนี้เป็นลำคลองคดเคี้ยว มีสายน้ำแยกไปหลายสาย จนเป็นประวัติศาสตร์แห่งโศกนาฏกรรมครั้งปลายกรุงศรีอยุธยากับทหารเอกของ “พระเจ้าเสือ” นามว่า “พันท้ายนรสิงห์” ที่ต้องมาจบชีวิตที่ริมคลองโคกขามแห่งนี้

          ครั้นต่อมาจึงเกิดเรื่องเล่าถึงความลี้ลับมหัศจรรย์ของดวงวิญญาณ “พันท้ายนรสิงห์” อย่างมากมายชนิดเล่ากันไม่รู้จักจบ จนชวนบ้านสมุทรสาครเชื่อว่า ดวงวิญญาณของท่านพันท้ายนรสิงห์ ยังคงสถิตวนเวียนอยู่ที่ๆถูกประหารนั้น

          “พันท้ายนรสิงห์” คือทหารเอกผู้กล้าหาญคนหนึ่งที่ยอมสละชีวิตเพื่อนายที่ตนรัก และเพื่อรักษากฎหมายให้คงความศักดิ์สิทธิ์เรื่องราวของทหารกล้าผู้นี้ เกิดขึ้นในปลายกรุงศรีอยุธยา สมัยแผ่นดินพระเจ้าเสือ “พันท้ายนรสิงห์” มีชื่อเดิมว่า “พัน” เป็นชวนบ้านป่าโมก เมืองอ่างทอง มีความสามารถทางแม่ไม้มวยไทย จนล่วงรู้ถึงพระเนตรพระกรรมพระเจ้าเสือ เป็นที่พอพระทัยมากจึงเรียกตัวนายพันมาเข้าเฝ้า และโปรดเกล้าฯให้เป็นมหาดเล็ก ต่อมาเพราะความซื่อสัตย์ นิสัยดี และมีฝีมือ นายพันจึงได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นนายท้ายเรือประจำพระที่นั่งนามว่า “พันท้ายนรสิงห์”

          บ้านเมืองในสมัยพระเจ้าเสือระส่ำระสายเกิดกบฏเป็นหลายก๊ก หลายฝ่าย มีข่าวถึงพระเจ้าเสือในทางลบตลอดเวลา ว่ามีพระทัยโหดเหี้ยม สุ่มหลงแต่สนมกำนัล ลูกสาวชาวบ้าน แถมสั่งฆ่าคนเป็นผักเป็นปลา ชวนบ้านจึงคิดกบฏ

          เหตุการณ์ประวัติศาสตร์เกิดขึ้นครั้งที่พระเจ้าเสือเสด็จประพาสคลองโคกขามเพื่อทรงเยี่ยมราษฎร ขณะนั้นมีชวนบ้านกลุ่มหนึ่งรอดักจะปลงพระชนม์พระเจ้าเสือ แต่ข่าวรั่วไปถึงพันท้ายนรสิงห์ ทำให้พันท้ายนรสิงห์หนักใจต้องคิดหาทางแก้ เพราะใจหนึ่งก็ไม่อยากให้ชาวบ้านถูกประหาร อีกใจหนึ่งก็เกรงพระเจ้าเสือจะเป็นอันตราย

          สุดท้าย ขณะขบวนเรือเสด็จประพาสจะแล่นผ่านกลุ่มกบฏนั้น พันท้ายนรสิงห์ก็ตัดสินใจหันหัวเรือพระที่นั่งให้ชนกับตลิ่ง เพื่อระงับการเสด็จ ตัวพันท้ายนรสิงห์เองก็รีบขึ้นฝั่งนั่งประนมมือรอรับโทษประหารทันที และแม้พระเจ้าเสือจะไม่คิดเอาโทษ แต่เพื่อการรักษากฏหมายบ้านเมืองให้ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป พันท้ายนรสิงห์จึงไม่ยอม เพราะสมัยนั้นมีกฎมณเฑียรบาลว่า “ผู้ใดกระทำให้หัวเรือพระที่นั่งชนกับตลิ่งหรือกิ่งไม้เป็นเหตุให้หัวเรือหักหรือจม มีโทษถึงประหารชีวิต” ซึ่งพระเจ้าเสือไม่อาจทัดทานได้ สุดท้ายพันท้ายนรสิงห์จึงถูกประหารชีวิต จากนั้นก็สร้างศาลขึ้นริมคลอง และนำศีรษะพันท้ายนรสิงห์และหัวโขนเรือตั้งไว้คู่กันบนศาล

 

 

แนวคิดและเหตุผล

 

          ประทับใจพันท้ายนรสิงห์ ที่จงรักภักดีต่อพระเจ้าเสือ ยอมตาย เพื่อรักษาไว้ซึ่งกฏมณเฑียรบาลเพื่อให้พระเจ้าเสือยังคงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ