ชื่อ                         ด.ช.เทิดธันวา คะนะมะ               

ระดับ                     มัธยมศึกษาตอนต้น

สถานศึกษา             ศิลปะลานคูน

ชื่อผลงาน               สมานฉันท์

ชื่อวรรณกรรม         พญาคันคาก

 

 

บทวรรณกรรม

 

          เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน ที่แสดงให้เห็นถึงประเพณีอีสานเกี่ยวกับการขอฝน โดยทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้า ได้คัดเอาตอนที่มนุษย์โลกไม่มีน้ำจากฝนให้ตกลงมา

          “ข้าแต่จอมบาดาล เหตุไฉนไยเล่า ฝนฟ้า จึงไม่ตกต้องตามฤดูกาล มาเป็นเวลานานหลายปีเช่นนี้ได้”

          “ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ผีฟ้าพญาแถนไม่ให้นาคทั้งหลายขึ้นไปเล่นน้ำบนสรวงสวรรค์จึงไม่ได้พ่นน้ำ ดำผุดดำว่าย เพราะเหตุพญาแถนโกธรเคืองผู้คนที่มัวแต่ไปน้อมบูชาพญาคันคาก และไม่ส่งเครื่องบัตรพลีสังเวยมาแต่พญาแถนดั่งเก่าก่อน” ซึ่งเป็นที่มาของการทำสงครามเข้าต่อสู้กัน

 

 

แนวคิดและเหตุผล

 

          ผลงานชิ้นนี้ ได้ยกเอาตอนที่หลังจากพญาแถนพ่ายแพ้แก่พญาคันคาก กองทัพทั้งสองฝ่าย นิ่งสงบอยู่สองข้าง ไร้อาวุธเพื่อทำสัญญาสงบศึก โดยพญาแถนที่อยู่บนฟ้าของเมืองส่วย อาสาแต่งน้ำทำฝนให้ตกลงมาให้พญานาคขึ้นไปเล่นน้ำได้ ซึ่งโลกสวรรค์ และโลกมนุษย์ห่างไกลกันมาก ชาวเมืองของพญาคันคากจะตกแต่งบั้งไฟแล้วให้พญานาคขี่ขึ้นไป เมื่อได้ยินเสียงและเห็นบั้งไฟหัวพญานาคก็ขอให้ปล่อยน้ำฟ้าลงไปยังโลกมนุษย์ทันที

          จากนั้นต่อมาบ้านเมืองมนุษย์โลก ก็สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร พอถึงเดือนอ้ายก็ได้จัดงานฉลองหลังจากได้เก็บเกี่ยวพืชผล จนถึงเดือนหก พญานาคก็ขี่บั้งไฟขึ้นไปบอกพญาแถน ของทุกปีก่อนฤดูการไถหว่าน ชาวเมืองก็ชุ่มเย็นมีน้ำท่าไว้กินไว้ใช้ และทำการเกษตร พืชผลก็มีมากมายเพียงพอต่อการเลี้ยงดูชาวเมืองอย่างไม่ขาดแคลน ยังความร่มเย็นผาสุขมาสู่ชาวเมืองกันตั้งแต่บัดนั้นตลอดมา