14-038

อุดมคติเชิงนิเวศ1
Ecotopia

สีน้ำมัน (110x170 cm.)
Oil Paint
ชื่อวรรณกรรม
คชาปุระ-นครไอยรา
Kachapura - NakornIyara
ศิลปิน
นายทรัพย์สถิตย์ อภิบาลศรี
Sapsathit Aphlbonsri
สถานศึกษา
วิทยาลัยเพาะช่าง
Poh-Chang Academy of Arts
ราคา
40,000 บาท
Price
~ 1,333 USD
วรรณกรรม / Literature
เรื่องพื้นที่อุดมคติเชิงนิเวศได้ทําให้เห็นถึงความหมายต่าง ๆ ที่กดทับอยู่บนมายาคติแห่งธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง นวนิยายเรื่อง “คชาปุระ” และ “นครไอยรา” นําเสนอถึงพื้นที่อุดมคติเชิงนิเวศผ่านเมืองคชาปุระ ซึ่งเป็นฉากที่สําคัญในเรื่อง หากอ่านในระดับผิวเผินอาจมองได้ว่า เมืองคชาปุระเป็นเมืองในอุดมคติของผู้ที่ต้องการรักษ์โลกในภาวะที่โลกของเรา อยู่ในช่วงวิกฤติจากน้ำมือของมนุษย์โลก อีกทั้งยังเป็นเมืองที่เป็นเสมือนที่พึ่งสุดท้ายในการดํารงรักษาสายพันธุ์ของธรรมชาติ ทั้งพืชและสัตว์ วิถีชีวิตของชาวเมืองคชาปุระมีลักษณะที่เรียบง่าย กล่าวได้ว่าเป็นมิตรต่อธรรมชาติ มีการยกย่องเชิดชูธรรมชาติ ขึ้นมาเทียบเท่ากับมนุษย์ คุณลักษณะที่กล่าวมานี้ตัวบทนําเสนอให้เห็นว่า เป็นหนทางที่นําไปสู่การปรองดองธรรมชาติและยื้อ ชีวิตของธรรมชาติแต่เมื่อพิจารณาในอีกมุมหนึ่ง พื้นที่คชาปุระกลับอุดมไปด้วยสัญญะ วาทกรรม และอุดมการณ์ต่าง ๆ หลายประการ
On this ecologically ideal space shows the meanings lying on the illusion in the central mythical nature. The novels "Kachapura" and "NakornAiyara" present an ecologically ideal area through Kachapura, a main scene in the story. Reading it superficially may view that Kachapura is an ideal city for those who want to save the world when in crisis at the hands of men. The city is the last resort in the preservation of nature for both plants and animals. Way of life of the people of Kachapura is very simple. Said to be friendly to nature, there is praise of nature up to the human equivalent. The features mentioned in this chapter show the path that leads to harmony with nature and sustain it. Even you look from other angle the Kachapura area is rich in signs, discourses and ideology.
เหตุผล / Reason
มุมมองของผู้สร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งในรายละเอียดของผลงานผมได้ซ้อนทับความน่าเศร้าการกดขี่ข่มเหง ธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่มองในระดับผิวเผินอาจรู้สึกและเห็นได้ว่าเป็นการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองแต่ในความเป็นจริงแล้วทุกอย่างสามารถสะท้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของเรื่องราวต่างๆได้ เป็นการชวนคิดในหนทางของการรักษ์ษาสิ่งแวดล้อมที่ มีการขับเคลื่อนและ รณรงค์ในระดับผิวเผินหากมองไปในส่วนลึก แล้ว สังคมโดยกว้างยังมีการปล่อยประละเลยและมุ่งแต่เพียงผลประโยชน์ส่วนตน หากเป็นเช่นนั้นแล้ว อุดมคติเชิงนิเวศ อาจเป็นได้แค่เพียงชุดความคิดที่เป็นมายาคติที่ไม่อาจเป็นไปได้ในโลกแห่งความเป็นจริง
The creator's perspective, in which the details of the work I have overlaid the sadness of the oppression over nature in a way on a superficial level that may be felt and seen as being in harmony. In fact, everything can reflect back to the beginning of any story. It was a persuasive to think in the ways of preserving the environment in which movement and campaign is on the superficial level. If seeing generally into the deep side of the problem, one could see the society abandoned or the personal gain focused. Then the ecological ideals could be just a set of illusory ideas that might not be possible in the real world

แชร์: