เทคนิคการวาดภาพสำหรับมือใหม่ ตอนที่ 2 วิธีการสเก็ตช์ภาพ

ในเทคนิคการวาดภาพสำหรับมือใหม่ ตอนที่ 2 จะมาพูดถึงเรื่อง "วิธีการ สเก็ตช์ภาพ"

การสเก็ตช์ภาพเป็นการฝึกวาดภาพโครงร่างหยาบๆ หรือร่างคร่าวๆ ของงานศิลปะชิ้นที่จะทำเป็นชิ้นเสร็จสมบูรณ์ การสเก็ตช์สามารถใช้ในการเตรียมงานก่อนจะสร้างงานชิ้นใหญ่ หรือเพื่อจะหาดูว่าภาพจะมีหน้าตาออกมาอย่างไร ไม่ว่าคุณจะสเก็ตช์ภาพแค่เอาสนุกหรือเพราะจะทำโปรเจคงาน การเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องจะช่วยทำให้การฝึกสนุกขึ้นกว่าเดิมเยอะ


1. หาอุปกรณ์ที่เหมาะสม
ในงานศิลปะทุกรูปแบบ การสเก็ตช์จะกลายเป็นเรื่องยากหากใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพต่ำ (หรือผิดประเภท) คุณสามารถหาอุปกรณ์สำหรับการสเก็ตช์ภาพทุกอย่างได้โดยง่ายตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป ลองควักเงินเลือกซื้ออุปกรณ์ดังต่อไปนี้:
-ดินสอเบอร์ H ดินสอเบอร์ H เป็นดินสอที่เข้มที่สุด และจะใช้สำหรับการสเก็ตช์เส้นตรงบางๆ ชนิดไม่ต้องไปกลืนกับเส้นอื่น มันจะใช้บ่อยที่สุดในงานสเก็ตช์ทางสถาปัตยกรรมและทางธุรกิจ ให้เลือกซื้อคละกันหลายเบอร์ความเข้ม คือ ดินสอ 8H, 6H, 4H, และ 2H 
-ดินสอเบอร์ B ดินสอเบอร์ B เป็นดินสอที่อ่อนที่สุด และมักใช้สำหรับการทำรอยเปื้อนหรือเส้นเบลอและเอาไว้แรเงาภาพสเก็ตช์ ศิลปินหลายคนจะชอบใช้มาก ให้หาซื้อคละหลายเบอร์ความเข้มคือ ดินสอ 8B, 6B, 4B, และ 2B 
- กระดาษวาดเขียน การสเก็ตช์ลงบนกระดาษพิมพ์ทั่วไปอาจจะง่าย แต่กระดาษแบบนี้บางและไม่จับผงดินสอได้ดี ให้ใช้กระดาษวาดเขียนที่มีลายพื้นผิวเล็กน้อยสำหรับการสเก็ตช์อย่างง่ายที่สุด และให้คุณภาพโดยรวมดีที่สุด


2. เลือกสิ่งที่จะมาเป็นแบบ 
สำหรับมือใหม่ การสเก็ตช์ที่ง่ายที่สุดคือหาภาพหรือแบบของจริงมาดู จะดีกว่าใช้จินตนาการคิดภาพที่จะวาดเอาเอง หาภาพหรือวัตถุที่คุณชอบ หรือมองหาสิ่งของหรือผู้คนใกล้ตัวมาวาด ใช้เวลาพักใหญ่ศึกษาตัวแบบก่อนเริ่มทำการสเก็ตช์ ให้ความสนใจในสิ่งต่อไปนี้:
-มองหาแหล่งกำเนิดแสง การระบุแหล่งกำเนิดแสงหลักจะช่วยในการพิจารณาว่าตรงไหนที่คุณจะต้องสเก็ตช์จางๆ และตรงไหนต้องสเก็ตช์เข้ม ๆ
-มองหาลักษณะการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวจริงจากแบบของจริงหรือการเคลื่อนไหวในรูปภาพก็ตาม จะช่วยในการพิจารณารูปทรงและทิศทางที่คุณจะร่างลายเส้นได้
-ให้ความสำคัญกับรูปทรงเบื้องต้น วัตถุทุกชนิดประกอบขึ้นจากการผสมของรูปทรงพื้นฐาน (สี่เหลี่ยม วงกลม สามเหลี่ยม เป็นต้น) มองหาว่ารูปทรงไหนที่เป็นสัณฐานหลักของวัตถุต้นแบบ แล้วสเก็ตช์รูปทรงพื้นฐานเหล่านี้ออกมาก่อน


3. อย่าวาดลงน้ำหนักเกินไป
 ภาพสเก็ตช์นั้นมีเจตนาจะใช้เป็นพื้นฐานหรือภาพร่างของรูปภาพจริง ฉะนั้น เวลาเริ่มสเก็ตช์ คุณควรจะลงน้ำหนักมือเบาๆ และใช้ลายเส้นตวัดสั้นๆ หลายๆ ครั้ง มันจะทำให้ทดลองวาดวัตถุใดๆ ด้วยวิธีแตกต่างกันออกไปได้ง่ายขึ้น และยังช่วยให้คุณลบข้อผิดพลาดได้ง่ายขึ้นด้วย


4. พยายามลองฝึกวาดท่าทาง
การฝึกวาดท่าทาง (gesture drawing) เป็นการสเก็ตช์ภาพรูปแบบหนึ่งที่คุณจะต้องใช้การเคลื่อนไหวต่อเนื่องและเชื่อมเส้นเพื่อวาดวัตถุต้นแบบโดยไม่ต้องมองบนกระดาษวาดเขียน แม้มันจะฟังดูยาก แต่จะช่วยให้คุณได้เข้าใจรูปทรงพื้นฐานในการวาด และช่วยวาดภาพที่ใช้เป็นฐานสำหรับการวาดขั้นสุดท้ายได้ การจะวาดท่าทางนั้น ให้มองเฉพาะตัวแบบ และขยับมือตามบนกระดาษวาดเขียน ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ต้องยกดินสอขึ้นเลยแต่ใช้การวาดเส้นซ้อนทับกัน คุณสามารถย้อนกลับไปลบเส้นที่เพิ่มขึ้นมาโดยไม่จำเป็นและวาดเส้นให้สมบูรณ์ได้

source : th.wikihow.com/%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E

สมัครและติดตามรายละเอียดโครงการได้ที่ www.intouchstation.com
และเข้าร่วมกลุ่มเฟสบุ๊ค จินตนาการ.อินทัช เพื่ออัพเดทข่าวสารโครงการ และเรื่องราวในวงการศิลปะที่ไม่ควรพลาด www.facebook.com/groups/jintanakarn.intouch/
แชร์: