14-016

แว่นฟ้าเวียงพิงค์
Wan Fah WiangPhing

สื่อผสม (40x60 cm.)
Mixed media
ชื่อวรรณกรรม
เพลงแว่นฟ้าเวียงพิงค์
Wan Fah WiangPhing
ศิลปิน
เด็กชายสิปปกร สูงขาว
Sippakarn Songkhao
สถานศึกษา
โรงเรียนดาราวิทยาลัย
Dara Academy
ราคา
8,000 บาท
Price
~ 267 USD
วรรณกรรม / Literature
แดนดินถิ่นนี้ นพบุรีศรีนครพิงค์ มีสายน้ำแม่ปิงไหลอิงม่อนดอยสุเทพเตียมฟ้าหมอกมุมเมืองดอกเอื้องน้อยบานก๋างป่า ดงไพร นกยูงคำขันเสียงใส บ่มีเมืองใดเหมือนเมืองเจียงใหม่ฮ้อยฮวมฮักฮ่วมใจ๋ยองฮื้อเขตไตจ้าดเจื้อคนเมือง ปี๋ใหม่สงกรานจุ่มเย็นวัดวางานเด่นเป๋นเมืองศาสนา ราชธานีล้านนา สามกษัตริย์พญาตกแต่งแปงสร้าง เจียงใหม่ต้าจ้างบ่ฮ้างฮิตฮอยของเก่าเดิมมา หวานล้ำกำฮู้กำจา เมืองศาสนาบ่มีไหนเต้า เจิญมาแอ่วเมืองเฮา ม่วนงันสรรค์เหล่าดุริยดนตรี
The land of NopBuriSrinakhonPhing, embraced with river Mae Ping, and mountain DoiSuthep high into the sky, holding foggy corner of the city, clinging the blooming flowers of the wild, accompanied by Peacocks’ singing clear sound. The city of Chiang Mai is unique. All loves bound here among the natives of the Province. The traditional New Year Songkarn, cooling down the old city, the prominent temple is a religious city, Lanna, monument of three Kings, who helped establish the city of Chiangmai that becomes abandoned. The city people speak with pleasant voices. No cities have more religious people than the ones here. Come and join us for creative local music.
เหตุผล / Reason
ผลงานชิ้นนี้ข้าพเจ้าได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทเพลงแว่นฟ้าเวียงพิงค์ซึ่งมีตอนหนึ่งของเนื้อเพลง สื่อถึงความงดงามทางวัฒนธรรมอันดีของชาวล้านนาที่ยังดำรงไว้ซึ่งความสง่างามทางวัฒนธรรม ในผลงานสื่อถึงงานปอยหลวงคือ งานบุญที่ยิ่งใหญ่ของภาคเหนือ ซึ่งจัดเป็นประจำของทุกๆ ปี เพื่อเป็นการจัดฉลองที่ยิ่งใหญ่ของวัด คำว่า”ปอย”มาจากคำว่า”ประเพณี”หมายถึงงานฉลองรื่นเริง ส่วนคำว่า”หลวง”หมายถึง”ยิ่งใหญ่”ดังนั้นคำว่า”ปอยหลวง”จึงเป็นงานฉลองที่ยิ่งใหญ่ หรือเป็นการฉลองถาวรวัตถุของวัด หรือฉลองสิ่งก่อสร้างของวัดที่ประชาชนช่วยกันทำขึ้น เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะและประเพณีงานปอยหลวงมักจะจัดขึ้นในช่วงเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ ซึ่งก็ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนเมษายน หรือบางแห่งอาจไปถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี เพราะเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงอยากที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่สื่อถึงงานประเพณีและวัฒนธรรมล้านนาออกมาเป็นผลงานโดยอ้างอิงเรื่องราวจากท่อนหนึ่งของบทเพลงแว่นฟ้าเวียงพิงค์เพื่อสื่อถึงความรักที่มีต่อถิ่นฐานบ้านเกิดในดินแดนล้านนาไทยแห่งนี้
This work represents the great cultural beauty of the Lanna people, who still maintain the cultural elegance in the works, portraying Poi Luang, the great merit fair of the North, which regularly held. Every year, in order to celebrate the grandeur of the temple, the word "Poi" comes from the word "tradition means a festive celebration while" Luang means "great, so the festive fairs "Poi Luang "is a great celebration. It is a big celebration or a celebration of the temple's permanently built objects or a celebration of the temple's buildings that people have helped make for the benefit of public and tradition from the 5th month to the7th month of the Northern calendar which falls on February until April of the international. Some places may continue to May each year. I therefore would like to create works that convey Lanna traditions and culture into works to expresses love for my hometown.

แชร์: